วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ทดลองใช้ Apogee Ensemble thunderbolt Part I



Apogee Ensemble thunderbolt ตอน 2 




               ในตอนนี้ก็จะมารีวิวการใช้งานเจ้า Apogee รุ่นนี้กันนะครับ เจ้า Apogee ตัวนี้เป็น Audio interface ที่อยู่ในระดับโปรฯ ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่ขอบอกวิธีการพื้นฐานในการต่อสายสัญญาณนะครับ ก็จากที่ได้ใช้งานมาร่วม 1 ปีผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากครับ Soundที่ออกมาเคลียร์ชัดเจน ด้วยจำนวน mic-input ที่มีมาให้ถึง 8 input จึงสามารถบันทึกเสียงเครื่องดนตรีที่ต้องใช้ไมค์เยอะๆอย่างกลองได้อย่างสบายๆด้วยการ set-up  ง่ายๆดังนี้  

                                                                                                                                 


ตัวอย่างการ Set up ไมค์กลองเข้ากับตัว Apogee



เสียงกลองที่บันทึกจาก Apogee Ensemble

                                                                                                                                 

        สำหรับการบันทึกเสียงกีตาร์นั้นทาง Apogee มีช่องinputสำหรับการบันทึกเสียงได้ 2 แบบคือแบบโดยตรงจากกีตาร์พร้อมกับsoundจากหน้าตู้เลย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากๆครับ








ตัวอย่างการใช้ Apogee บันทึกเสียงกีตาร์





                                                                                                                                 


    สำหรับการบันทึกเสียงเบสนั้นหลักการเชื่อต่อนั้นก็คล้ายๆกับของกีตาร์ครับ คือต่อตรงกับต่อผ่านแอมป์ ก็จะได้Sound 2 แบบเลยลองฟังเสียงเบสที่บันทึกผ่าน Apogee ได้เลยครับ 







ครั้งหน้ามาต่อกันเรื่องการบันทึกเสียงร้องและเรื่อง Latency กันนะครับ 




























วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

Audio interface เสียงดีขั้นเทพ : Apogee Ensemble thunderbolt




Apogee Ensemble thunderbolt 




                  ด้วยความที่ผู้เขียนได้ใช้ Audio interface มาหลายยี่ห้อทั้งแบบ USB 2.0 - 3.0, Fireire400 - 800 จนเทคโนโลยี Thunderbolt ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเลยมีความคิดอยากหามาไว้สักเครื่องนึง จนกระทั่งได้มีโอกาสได้เจ้า Apogee ตัวนี้มาใช้จนทำให้หลายๆคนอิจฉา เพราะอะไรหรือครับ ก็ด้วยเพราะคุณสมบัติอันน่าทึ่งมากมาย ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

                                                                                                               

      
                   คุณสมบัติโดยรวมของ Apogee Ensemble thunderbolt




8 ไมค์ input ที่มีมาพร้อม Mic preamps คุณภาพสูงทำให้ได้เสียงที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง

                                                                                                               





 ด้วยเทคโนโลยี Thunderbolt  ทำให้ค่า latency ต่ำ ทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น

                                                                                                              





ด้านหน้ามีช่องเพิ่มเติมสำหรับการบันทึกเสียงกีตาร์ที่มีมาให้ถึง 2 ช่อง พร้อมช่อง output 
เพื่อเชื่อมต่อกับหัวแอมป์ภายนอก นับได้ว่าสะดวกมากสำหรับการบันทึกเสียงกีตาร์และเบส


                                                                                                              




 มาพร้อม Waves plugins เมื่อลงทะเบียนการใช้งาน


                                                                                                              








 มีปุ่ม Talkback ในด้านหน้าตัวเครื่องเพื่อการสื่อสารกับนักดนตรี  พร้อม Built-in Microphone

                                                                                                              







มาพร้อมชุดหูฟังคุณภาพสูงที่มีการทำงานแยกอิสระทำให้สะดวกต่อการใช้งาน

                                                                                                              



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณคุณอภินันท์ ลุวีระ 081-914-8546  บริษัท อินทัช อินทิเกรชั่น ได้เลยครับ







ติดตามการทดลองใช้งานได้ในตอนต่อไปนะครับ . . . . . . . 
























วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

ทำเพลง ทำไมต้องลำโพงมอนิเตอร์



ทำเพลง ทำไมต้องลำโพงมอนิเตอร์

      

          สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มสนใจทำเพลงหรือทำงานด้าน VDO แม้กระทั่ง Gamer  ต่างๆ บางคนก็สงสัยว่าทำไมพวกเขาต้องหันมาใช้ลำโพงที่เรียกว่า "มอนิเตอร์" ทั้งๆที่ที่บ้านก็มีลำโพงเครื่องเสียงอยู่แล้ว บางคนมีแบบราคาแพงด้วย  ทำไมยังต้องเสียเงินไปซื้อลำโพงมอนิเตอร์อีก

           คำถามนี้ผู้เขียนได้ยินมาตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิดคำถามนึงเลยก็ว่าได้  ก่อนอื่นเราจะต้องถามตัวเองก่อนว่าเราซีเรีสยกับงานที่จะทำออกมามากน้อยขนาดไหน  ถ้าทำเพลงหรือทำ VDO เอาไว้ฟังเองโดยที่ไม่ต้องเอาไปให้คนอื่นฟังก็คงไม่ต้องซีเรียสเท่าไหร่  แต่ร้อยทั้งร้อยเวลาเราทำงานออกมาเราก็ต้องการที่จะเอาไปให้คนอื่นฟังใช่ไหมครับ  ดังนั้นสิ่งที่จะถ่ายทอดเสียงออกมานั่นก็คือลำโพง  


           กลับมาที่เรื่องของลำโพงมอนิเตอร์ อย่างที่บอก  ขึ้นชื่อว่าลำโพงมอนิเตอร์มันต้องมีอะไรที่ให้เรามากกว่าลำโพงทั่วๆไป ผู้เขียนจะเปรียบเทียบอย่างง่ายๆว่า

          ลำโพงทั่วๆไป - มีหน้าที่ทำให้เพลงเพราะขึ้น

          ลำโพงมอนิเตอร์ - มีหน้าที่แสดงเสียงที่แท้จริงออกมา

          จากการที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั่นแสดงให้เห็นว่าลำโพงมอนิเตอร์มีหน้าที่ "ฟ้อง" ทุกๆเสียงที่เราได้สร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงกลอง  กีตาร์ เบส เปียโน เสียงร้อง ฯลฯ ให้ออกมาเที่ยงตรงกับที่เราบันทึกลงไปให้มากที่สุด นั่นแสดงว่าถ้าเพลงที่หรือเสียงที่เราฟัง ดี-แย่ อย่างไร มอนิเตอร์จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน หรือที่เราเรียกว่า ลำโพงมัน Flat 



ค่าแสดงการตอบสนองต่อเสียงทุกความถี่ 


        และด้วยความที่มัน Flat นี่แหละบางครั้งก็ทำให้เวลาเราฟังเพลงด้วยลำโพงมอนิเตอร์นานๆก็ทำให้มีอาการเบื่อได้เหมือนกัน เพราะมันแปลก ไม่เหมือนกับลำโพงที่เราๆใช้กัน  ทีนี้ปัจจุบันเรานิยมทำ Home Studio ดังนั้นเราจะข้างลำโพงที่ใช้ใน Studio ใหญ่ๆไปเลยเพราะราคาค่าตัวของมันค่อนข้างสูงทีเดียว ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้าเราจะซื้อลำโพงมอนิเตอร์แล้ว เราจะมีวิธีการเลือกอย่างไร เรามาดูกันก่อนว่าลำโพงมอนิเตอร์ที่นำมาทำเพลงนั้นมีแบบไหนบ้าง


ลำโพงแบบ Passive

1.Passive monitor 
               เป็นลำโพงมอนิเตอร์ที่ต้องใช้แอมป์เป็นตัวขับสัญญาณ ดังนั้นการเลือกใช้ลำโพงประเภทนี้จึงต้องเลือกซื้อแอมป์ที่มีกำลังวัตต์ที่เหมาะสมกันเพื่อที่จะได้เสียงที่ดี ดังนั้นการเลือกซื้อแอมป์  ผู้ใช้จึงต้องหาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเลือก






ลำโพงแบบ Active







2.Active monitor 
               ลำโพงประเภทนี้เป็นลำโพงที่มีแอมป์ติดมากับลำโพงเลย จึงได้รับการคำนวนมาคร่าวๆจากโรงงานเรียบร้อยแล้วจึงเป็นลำโพงที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูง เนื่องด้วยความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ เพียงแค่เสียงปลั้กแล้วต่อเชื่อมสายสัญญาณกับแหล่งกำเนินเสียงก็สามารถใช้งานได้เลย 
 






แล้วเราจะเลือกแบบไหนดี?









          การเลือกซื้อมอนิเตอร์ก็เหมือนกับการเลือกซื้อกีตาร์  คืออย่าเลือกซื้อตามที่เขาบอกมา เราควรหาเวลาไปฟังลำโพงด้วยตนเอง กะงบประมาณคร่าวๆในใจ หรือหาข้อมูลเบื้องต้นใน internet มาก่อนจากนั้นจึงหาร้านค้าหรือหาฟังจากที่ต่างๆเช่นของเพื่อน ห้องบันทึกเสียง เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะลำโพงแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นมีคาแรคเตอร์เสียงที่ไม่เหมือน  บางครั้งผู้เขียนก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าลำโพงไหนดี ไม่ดี เพราะ ไม่เพราะ จึงขอให้พิจารณาดีๆ
      
       การเลือกลำโพงมอนิเตอร์ง่ายๆมีดังนี้
1.ให้เตรียมเพลงที่เราคุ้นเคย (ขอร้องว่าไม่เอา mp3 นะครับ) โดยให้เตรียมเพลงที่มีคุณภาพสูงสักหน่อยแล้วฟังกับลำโพงหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ
2.เพลงที่มีเสียงร้องเพราะๆ จะทำให้เราพิจารณาได้ง่ายว่าลำโพงยี่ห้อใดมีข้อบกพร่องมากที่สุด เนื่องจากเสียงพูดหรือเสียงร้องเป็นเสียงที่เราคุ้นเคยที่สุด
3.เลือกเพลงหลายๆแนวเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจของเรา
4. เปรียบเทียบลำโพงโดยการเปลี่ยนลำโพงโดยทันทีเพราะคนเรามีความจำเสียงได้สั้น การเปลี่ยนลำโพงอย่างรวดเร็วทำให้เราสามารถเปรียบเทียบลำโพงได้เป็นอย่างดี 





สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องลำโพงมอนิเตอร์ได้ที่ คุณคุณอภินันท์ ลุวีระ 081-914-8546  บริษัท อินทัช อินทิเกรชั่น ได้เลยครับ








วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

มิกเซอร์ตัวเล็กแต่คุณภาพไม่เล็ก : Mixer YAMAHA MG06X

มิกเซอร์ตัวเล็กแต่คุณภาพไม่เล็ก 

 "Mixer YAMAHA MG06X"

                                                                                                                                                         
  




    
      Yamaha MG06X เป็นมิกเซอร์ขนาดเล็กที่บรรจุเทคโนโลยีของมิกเซอร์ในรุ่น MGP ของ Yamaha ลงมาด้วย ทำให้ประสิทธิภาพของมิกเซอร์รุ่นนี้มีมากกว่าขนาดที่เล็กของมันมากนัก ทั้งช่องต่อสัญญาณ Microphone ที่มีมาให้ถึง 2 ช่อง เพียงพอต่อการใช้งานขนาดเล็ก ทั้งยังมีเอฟเฟคร้องที่มีคุณภาพสูงมาให้ถึง 6 ตัว รวมทั้งคุณสมบัติเด่นอื่นๆอีกเช่น 




Input 6 ช่อง ( Mic x 2 , mono x 2 )





1 Stereo Out put , 2 XLR Out put





Mic preamps "D-PRE" คุณภาพสูงจาก Yamaha





เอฟเฟ็ค SPX 6 โปรแกรม 



PAD สวิทช์ ทุกๆ ช่องโมโน 




+48 V สำหรับ Condensor Microphone




แกะกล่องมองดู 
       
      ครั้งแรกที่ได้จับเจ้าตัวเล็กนี่ รู้สึกได้ถึงความตั้งใจที่จะใส่เทคโนโลยีจากเจ้ารุ่น MGP มาอย่างเต็มเปี่ยม เรียกได้ว่าแทบจะไม่เหลือที่ว่างให้ใส่อย่างอื่นเลย ฟังชั่นที่จำเป็นที่มิกเซอร์ทุกตัวต้องมี MG06X นำมาใส่อย่างไม่ยั้ง อีกทั้งความเอาใจใส่ในการประกอบ ปุ่มหมุนต่างๆมีความหนืดกำลังดี ให้ความรู้สึกเหมือนใช้งานมิกเซอร์ระดับโปร นับว่าเป็นการใส่ใจของYamaha เป็นอย่างดี 

ทดลองใช้งาน
         
       ผู้เขียนได้ทดลองใช้งานโดยการต่อไมค์ร้อง กีตาร์ เปียโน แล้วต่อไปยังลำโพงจากนั้นทดลองใช้เอฟเฟคที่มีมาให้ ลักษณะเสียงที่ออกมามีมิติค่อนข้างดี แต่จะมีที่น้อยใจไปบ้างก็คือปุ่มปรับ Eq ที่มีน้อยไปหน่อยแต่ก็พอจะเข้าใจได้  จากนั้นจึงทดลองเปลี่ยนมาใช้ Microphone Condenser ของ RODE เสียงที่ออกมาถ่ายทอดเสียงได้ดี แสดงถึงคุณภาพของ D-PRE ที่ทาง YAMAHA ใส่มาให้อย่างครบถ้วน 

สรุป

        Mixer YAMAHA MG06X เป็นอนาล็อก มิกเซอร์ขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะกับการแสดงดนตรีขนาดเล็กเช่น เปียโนกับร้อง หรือ กีตาร์กับร้อง ด้วยขนาดที่เล็กทำให้สามารถพกพาได้สะดวก และด้วยฟังชั่นที่ใส่มาให้อย่างครบถ้วน ทำให้มิกเซอร์รุ่นนี้มีประสิทธิภาพที่ใหญ่เกินตัวจริงๆ 

 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณคุณอภินันท์ ลุวีระ 081-914-8546  บริษัท อินทัช อินทิเกรชั่น ได้เลยครับ


       





วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

รีวิว : Steinberg UR44


                Steinberg UR44



          Steinberg UR44 เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงชนิด USB 2.0  ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นที่นิยมอีกรุ่นหนึ่งจาก  Steinberg ด้วยช่องสัญญาณอินพุท 4 ช่องและอีก 2 ช่องเป็นช่องรับสัญญาณจากเครื่องมือต่างๆเช่น Guitar , Keyboard , Bass , จึงทำให้ Steinberg UR44 สามารถรับสัญญาณอินพุทได้ถึง 6 ช่องพร้อมๆกัน  Steinberg UR44 มาพร้อมกับโปรแกรม CUBASE AI ซึ่งทำให้สะดวกต่อการทำงานในทุกๆระดับ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้นในระดับนักเรียนจนถึงระดับมืออาชีพและความพิเศษอีกอย่างของ  Steinberg UR44 คือสามารถใช้เชื่อมต่อกับ IPAD ได้เลยซึ่งสะดวกและดีมากๆในสมัยนี้ครับ


แกะกล่องมองดู   
            อีกครั้งกับการเปิดกล่องลองของใหม่ ทั้งที่ผู้เขียนคุ้นเคยกับ Audio interface มามากมายหลายรุ่น แต่เมื่อเปิด Steinberg UR44  พบว่าเราแทบไม่ต้องอ่านคู่มือเลย เราก็สามารถที่จะใช้งานได้ในทันทีที่เห็น ถึงแม้ว่าผู้ใช้บางคนอาจจะเป็นมือใหม่ก็ไม่ยากที่จะทำความรู้จักกับเจ้าตัวนี้ โครงสร้างหลักทำจากเหล็กทั้งตัว การสกรีนตัวหนังสือก็ทำได้เนียนเรียบไปกับตัวเครื่อง ยากที่จะทำเลียนแบบได้ ซึ่งจากข้อมูลที่หามาจะมีโรงงานเพียง 2 แห่งในโลกนี้เท่านั้นที่สามารถสกรีนลงบนผิวในลักษณะนี้ได้ 



                 มาดูเครื่องทางด้านหน้านะครับ Steinberg UR44 มาพร้อมกับ ไมค์อินพุท 4 ช่อง ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งไมค์ร้อง ไมค์กลอง ไมค์เครื่องเป่า ฯลฯ มาพร้อมกับ  D-PRE หรือ Darlingon Preamp ( คือ Preamp ที่มีความหนาแน่นของเสียงสูง แต่มี noise ต่ำ)  มี Volume ปรับความดังเบาแยกอิสระ มีปุ่ม +48V ทำให้สามารถใช้ไมค์คอนเดนเซอร์ได้พร้อมกันทั้ง 4 ตัว และในแต่ละอินพุทนั้น จะมีไฟLEDแสดงสถานะความดังของเสียง และไฟแสดงสถานะ 48V สำหรับไมค์คอนเดนเซอร์ ส่วนอินพุท 5-6 นั้นเป็นแบบ Phone อินพุท มีไว้สำหรับเครื่องดนตรีประเภท Guitar,Bass,Keyboard  ส่วนที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวคือช่องหูฟัง Phone ST ซึ่งทาง Steinberg ได้ให้มาถึง 2 ช่อง เพียงพอสำหรับ Sound Engineer และนักดนตรี ทำให้สามารถบันทึกเสียงในห้องที่มีเสียงรบกวน ได้เป็นอย่างดี ต่อมาคือปุ่มปรับความดัง-เบา ทั้งหมด ซึ่งปุ่มปรับต่างๆของ Steinberg UR44 นั้นมีความหนืดค่อนข้างดี ทำให้รู้สึกเหมือนใช้งานเครื่องมือในระดับ Hi-End เลยทีเดียว




                 ย้ายมาทางด้านหลังบ้าง Steinberg UR44 Audio Interface ทางด้านหลังนั้นจะประกอบไปด้วยปุ่ม Power และเนื่องจากจำนวนอินพุทที่มีมากจึงต้องใช้ Adepter เพื่อจ่ายไฟให้กับ UR44 ต่อมาคือช่อง USB โดยที่ในรุ่นนี้มีความพิเศษคือสามารถนำเอา IPAD มาเชื่อมต่อและสามารถ Record เข้า IPAD เข้าได้โดยตรงทาง App ต่างๆที่เรามีได้เลย ซึ่งการใช้กับ Ipad นั้นจะมีสวิสสลับ MODE ระหว่างเครื่อง Computer กับ IPAD ซึ่งนับได้ว่าเป็น Mobile Recorder ได้อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ ช่องต่อมาคือช่องต่อ MIDI IN-OUT ซึ่งนับได้ว่าเป็นช่องที่เอาอกเอาใจคนสูงอายุอย่างแท้จริง เนื่องจากในสมัยนี้ระบบ MIDI ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้แล้ว แต่ทาง UR44 ก็ยังคงให้ Function นี้มาด้วย (ต้องขอบคุณเป็นการส่วนตัวครับ) ต่อมาคือ MAIN OUTPUT ซึ่งเป็น OUTPUT แบบ phone Jack ซึ่งสามารถต่อสัญญาณออก Monitor ได้เลย
            ส่วนต่อมาที่ชอบเป็นพิเศษคือ OUTPUT 1-4 ซึ่งประโยชน์ของ OUTPUT ทั้ง 4 ช่องก็คือสามารถจ่ายสัญญาณไปได้หลายแหล่ง ทั้ง Mixer,Monitor, Sub Woofer, หรืออื่นๆตามความต้องการได้อย่างง่ายดาย ต่อมาคือ INPUT 5-6 ไว้สำหรับเครื่องดนตรีประเภท High Impedance ต่างๆเช่น Guitar,Piano,Keyboard  รวมๆแล้ว UR44 นั้นสามารถบันทึกเสียงพร้อมๆกันได้ทั้งวงเลยทีเดียว


ทดลองใช้งาน
            ผู้เขียนได้ลองใช้งาน  Steinberg UR44  โดยการลองบันทึกเสียงเครื่องดนตรีต่างๆผ่านโปรแกรม LOGIC PRO โดยใช้ Mac Book Pro   โดยในครั้งแรกทดลองเล่น Acoustic  guitar ผ่าน UR44 โดยตรง  ผลปรากฎว่าเสียงที่ออกมานั้นUR44 สามารถถ่ายทอดเสียงออกมาได้เป็นอย่างดี ยังคงความสดใสของเสีย guitar ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นผลมาจาก D-PRE นั่นเอง จากนั้นทดลองบันทึกเสียงร้องผ่านไมค์คอนเดนเซอร์ของ RODE ซึ่งผลที่ออกมานับได้ว่าสามารถถ่ายทอดเสียงได้ครบทุกย่านได้เป็นอย่างดี
            จากการทดลองบันทึกเสียงแบบง่ายๆแล้ว เรามาทดลองบันทึกเสียงวงดนตรีขนาดย่อมๆซึ่งประกอบด้วย กลองชุด กีตาร์ไฟฟ้า,กีตาร์เบส,เปียโนไฟฟ้า,ร้อง  โดยทำการเซทค่าต่างๆจากโรงงานโดยไม่มีการปรับค่าแต่อย่างใด เซทอัพก็เพียงแค่ในไมค์โครโฟนต่อตรงเข้าที่แอมป์ ส่วนเสียงร้องก็ร้องตรงเข้า UR44 เลยไม่ผ่าน Mixer หรือตัวช่วยปรับแต่งเสียงแต่อย่างใด ผลปรากฏว่าไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น ไม่มีความหน่วง ช้าหรือดีเลย์อะไรเลย จากนั้นก็ได้ทำการทดลองเปลี่ยนจากเครื่อง Mac Book  เป็น Ipad3 แล้วทำการเปลี่ยนโหมด CC ด้านหลังเป็น on แล้วใช้โปรแกรม Garage Band บันทึกเสียง ผลที่ออกมาก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถบันทึกเสียงและเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี


สรุปผลการทดสอบ
                        จากการได้ทดลองใช้ Steinberg UR44 บันทึกเสียงได้สัก 2-3 เพลง  รู้สึกว่าเป็น Audio Interface  ที่เหมาะสมกับผู้ใช้หลายประเภทตั้งแต่ผระดับนักเรียน นักศึกษา นักดนตรี  ศิลปิน แต่ด้วยจำนวน Mic Input น้อยไปสักหน่อยสำหรับงานบันทึกเสียงขนาดกลางที่ค่อนข้างซีเรียส แต่ด้วยฟังชั่นต่างๆที่มีมาให้ รวมไปถึงโปรแกรม CUBASE AI ซึ่งสามารถโหลดได้ฟรีและยังมาพร้อมกับเอฟเฟคต่างๆ ก็น่าจะเพียงพอกับการใช้งานระดับ Home Studio ได้เป็นอย่างดี
            สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณคุณอภินันท์ ลุวีระ บริษัท อินทัช อินทิเกรชั่น ได้เลยครับ